วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี

 Title
   สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี

Title Alternative
    Condition of school based administration in local development for the schools under the local government organizations in Ubon Ratchathani province

     Name: ตะวัน วรรณสินธ์
    keyword: การบริหารสถานศึกษา
   ThaSH: โรงเรียน -- การบริหาร
   ThaSH: ชุมชนกับโรงเรียน
   ThaSH: การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
Abstract: วิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี จำนวนทั้งหมด 298 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 29 คน และข้าราชการครู 269 คน กำหนดสัดส่วนตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากัน .98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที และเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่รายด้านพบว่าด้านหลักการบริหารตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรายด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติราชการ สรุปผลได้ดังนี้ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่รายด้านพบว่าด้านหลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. แนวทางสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี คือ ด้านการกระจาย ควรมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจและความรับผิดชอบไปยังหัวหน้าฝ่ายอย่างชัดเจน ด้านการมีส่วนร่วม ควรให้ผู้บริหาร ครู ชุมชน นักเรียนและกรรมการสถานศึกษาร่วมกันดำเนินการพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษา ด้านหลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน ควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษามีบทบาทในการแต่งตั้งที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการบริหารตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความเป็นกลาง รอบรู้ ทันโลกทันสมัย มองอย่างรอบด้านมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนำวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาไปสู่การปฏิบัติได้ ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล ควรมีระบบและกลไกการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนพัฒนาการศึกษาและการใช้ทรัพยากรในสถานศึกษา มีระบบการตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ชัดเจนและโปร่งใส

รายการอ้างอิง
  ตะวัน วรรณสินธ์ (2564) สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปนวัตกรรมด้านบริหารการศึกษา (E - Office สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์)

  E - Office สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์        E-Office หรือสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ ในบางครั้งก็ใช้คำว่า Office Automation หรือสำนักงานอัตโนมัติ...